คำถามที่พบบ่อย
คำถาม : สหกรณ์ประเภทใดที่ต้องรายงานข้อมูลทางการเงินตามกฎกระกรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564
คำตอบ : สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุกแห่ง
คำถาม : ช่องทางการรายงานข้อมูลทางการเงินตามกฎกระกรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564 คือช่องทางใด?
คำตอบ : รายงานผ่านระบบ MIS ที่ลิ้งค์ https://fininfo.cpd.go.th/
คำถาม : สหกรณ์ประเภทใดที่ต้องการรายงานข้อมูลการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
คำตอบ : สหกรณ์ทุกประเภทที่มียอดเงินรับฝากคงเหลือ มีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลการดำรงสินทรัพย์คล่องเป็นประจำทุกเดือน
คำถาม : สหกรณ์ในประเทศไทย มีทั้งหมด กี่ประเภท ?
คำตอบ : ประเภทสหกรณ์ในประเทศไทย ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
(1) สหกรณ์การเกษตร
(2) สหกรณ์ประมง
(3) สหกรณ์นิคม
(4) สหกรณ์ร้านค้า
(5) สหกรณ์บริการ
(6) สหกรณ์ออมทรัพย์
(7) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
(8) สหกรณ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำถาม : การจดทะเบียนสหกรณ์ สามารถไปจดทะเบียนสหกรณ์ที่ใดบ้าง และ ใช้เวลานานเท่าใด ?
คำตอบ : การจดทะเบียนสหกรณ์สามารถไปจดได้ที่ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1,2 และ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด
โดยใช้เวลาในการจดทะเบียนสหกรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ 15 วันทำการ
คำถาม : การจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกร สามารถไปจดทะเบียนกลุ่มเกษตรที่ใดบ้าง และ ใช้เวลานานเท่าใด ?
คำตอบ : การจดทะเบียนสหกรณ์สามารถไปจดได้ที่ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1,2 และ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด
โดยใช้เวลาในการจดทะเบียนสหกรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ 12 วันทำการ
คำถาม : การประเมินความเข้มแข็งสหกรณ์มีประโยชน์ต่อสหกรณ์อย่างไร
คำตอบ : การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของสหกรณ์ในหลายด้าน ดังนี้
1. วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ช่วยให้สหกรณ์รู้ว่าตนเองมีจุดแข็งอะไรที่ควรต่อยอด และมีจุดอ่อนตรงไหนที่ควรปรับปรุงเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
2. วางแผนกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร ข้อมูลจากการประเมินสามารถใช้ในการวางแผนพัฒนาสหกรณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
3. เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใส การประเมินช่วยสะท้อนถึงกระบวนการบริหารจัดการ ว่ามีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีส่วนร่วมจากสมาชิกหรือไม่
4. ยกระดับความเชื่อมั่นของสมาชิก เมื่อสมาชิกเห็นว่าการบริหารของสหกรณ์มีการประเมิน ตรวจสอบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็จะเพิ่มความมั่นใจและสนับสนุนการดำเนินงานมากขึ้น
5. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการสนับสนุนจากภาครัฐหรือองค์กรอื่น สหกรณ์ที่มีผลการประเมินในระดับดี อาจมีโอกาสได้รับการสนับสนุนทั้งด้านเงินทุน การฝึกอบรม หรือโครงการพัฒนาอื่น ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ช่วยให้สหกรณ์สามารถตรวจสอบว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และควรปรับปรุงในจุดใด
คำถาม : ใครที่สามารถกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ได้บ้าง
คำตอบ : สหกรณ์ทุกประเภท ที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
คำถาม : หลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กำหนด มีอะไรบ้าง
คำตอบ : 1) สหกรณ์ทุกประเภท
2) มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท
3) มีวินัยทางการเงิน และไม่มีหนี้ผิดนัดค้างชำระต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ทุกเงินทุน สำหรับกรณีสหกรณ์ได้รับการผ่อนผัน การขยายเวลาชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การไกล่เกลี่ยคดี การประนีประนอมหนี้ และสหกรณ์สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข ถือว่ามีคุณสมบัติที่จะกู้ยืมได้)
4) ไม่มีการทุจริต และไม่มีข้อบกพร่องทางการเงินและทางบัญชี ในกรณีที่สหกรณ์มีข้อบกพร่องหรือทุจริต ต้องได้รับการแก้ไขแล้ว
5) สหกรณ์ตั้งใหม่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000 บาท
คำถาม : หากสหกรณ์ต้องการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : สามารถยื่นคำขอกู้ต่อกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์และสำนักงานสหกรณ์จังหวัด
คำถาม : เมื่อผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ใด ให้แจ้งคำสั่งให้สหกรณ์ที่จะเข้าตรวจการสหกรณ์ทราบด้วยหรือไม่
คำตอบ : ต้องแจ้งคำสั่งนั้นให้สหกรณ์นั้นทราบด้วย
คำถาม : สมาชิกสหกรณ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเงินปันผผลหรือเงินเฉลี่ยคืนหรือไม่
คำตอบ : สมาชิกสหกรณ์ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน ตามพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 40) .ศ.2514 วันที่17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514)
คำถาม : เมื่อสหกรณ์พบการกระทำทุจริต ดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงถึงการกระทำทุจริตนั้น และหาผู้รับผิดชอบ หากเป็นความผิดอาญา จะต้องตรวจสอบฐานความผิดว่าเป็นความผิดอันยอมความได้หรือไม่ หากเป็นความผิดอาญยาอันยอมความได้ ก็ต้องพึงระวังอายุความในการดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้แจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ
18 หมู่ 6 ถนนศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทรศัพท์. 0-4561-2746 โทรสาร. 0-4561-4060 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ
Copy right All reserve 2023
รูปภาพ จากเว็บไซต์ freepik.com , flaticon.com
วีดีโอ จาก เว็บไซต์ youtube.com